งานออนไลน์ | ทํางานออนไลน์ | หางานออนไลน์ | งานผ่านเน็ต | งานพิเศษออนไลน์ | งานผ่านnet | งานออนไลน์ | ทำงานผ่านเน็ต | ธุรกิจออนไลน์ | รายได้พิเศษผ่านเน็ต | รายได้เสริมทางเน็ต | รายได้เสริมผ่านเน็ต | หาเงินออนไลน์ | งานออนไลน์ รายได้เสริม | ทำงานทางเน็ต | หาเงินผ่านเน็ต | หางานออนไลน์ทําที่บ้าน | งานออนไลน์ได้เงินจริง | งานออนไลน์ทําที่บ้าน | ธุรกิจ online | หารายได้ทางเน็ต | งานออนไลน์ผ่านเน็ต | งานเสริมออนไลน์ | สร้างรายได้ผ่านเน็ต | งานผ่านเน็ตรายได้ดี | งานผ่านเน็ตได้เงินจริง | ทํางานออนไลน์ | หางานออนไลน์ | งานผ่านเน็ต | งานพิเศษออนไลน์ |


วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

‘ยู ไลฟ์ - ยู อินเตอร์’ ประกันภัย ‘คนสหกรณ์’ ดร.ศุภชัย - สหพล สร้างมาตรฐานถ่วงดุลสังคมไทย



‘ยู ไลฟ์ - ยู อินเตอร์’ ประกันภัย ‘คนสหกรณ์’ ดร.ศุภชัย - สหพล สร้างมาตรฐานถ่วงดุลสังคมไทย

“...สหกรณ์ ทำให้เกิดระบบต่อการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ขณะเดียวกันก็เกิดความมั่นคงในกิจกรรมต่างๆ จนกระทั่งกลายเป็นสถาบันหลักและกลายเป็นสถาบันการเงินของสังคมในแต่ละชุมชน ตามหลักของฟรีดริคเอแบรท...”


หลายครั้ง! ที่นำเสนอเรื่องราว “สหประกันชีวิต” หรือ บริษัท สหประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ยังคงต้องย้อนจุดกำเนิดเกิดขึ้นของบริษัทแห่งนี้ว่ามี “รากเหง้า” มาจากกลุ่มเครือข่าย “สหกรณ์” เพื่อตอกย้ำเจตนารมณ์ที่จะให้เป็นสถาบันการเงินหลักที่ส่งเสริมให้สหกรณ์ทุก ประเภทร่วมกันดำเนินธุรกิจประกันชีวิตตามหลักการช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่ง กันและกัน ให้บริการคุ้มครองภัยแก่บรรดาสมาชิกและสหกรณ์ให้มั่นคงและเป็นธรรม ทั้งเป็นการส่งเสริมให้มีการประหยัดเก็บออมทรัพย์อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อให้สมาชิกและครอบครัวรวมถึงประชาชนคนไทยทั้งมวลมีหลักประกันที่มั่นคง ในการดำรงชีวิต ตลอดถึงเป็นการสร้างแหล่งเงินทุนของขบวนการสหกรณ์อีกแห่งหนึ่งเพื่อนำมาใช้ ในการพัฒนาสหกรณ์และให้สวัสดิการทางสังคมได้อีกด้วย ซึ่งเป็นที่ “เข้าใจ” อย่างชัดเจนว่าแนวทางการดำเนินธุรกิจของ “สหประกันชีวิต” นั้นเป็นบริษัทหนึ่งเดียวที่มี “ลูกค้า” เป็น “ผู้ถือหุ้น” มาตั้งแต่เริ่มแรก และมีกลุ่มเป้าหมายลูกค้าคือ “คนสหกรณ์” ที่ชัดเจน !!

“สหประกันชีวิต” เกิดจากรากเหง้า “สหกรณ์”

หากจะย้อนความหลัง ไปในอดีต “สหประกันชีวิต” ที่ได้ริเริ่มการจัดตั้งขึ้นด้วยแนวความคิดของ “ขบวนการสหกรณ์ไทย” “สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย” “กรมส่งเสริมสหกรณ์” และ “กรมตรวจบัญชีสหกรณ์” ในสังกัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อปี 2518 เพื่อสร้างความมั่นคงปลอดภัยแก่สมาชิกและสหกรณ์โดยรวมกระทั่งได้ประสานกับ “มูลนิธิฟรีดริคเอแบรท” แห่งสาธารณรัฐเยอรมนี ศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนิน “ธุรกิจประกันชีวิต” ของขบวนการสหกรณ์ โดยหวังว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่สหกรณ์และมวลสมาชิกทั้งหมด

จนเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2536 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้จัดตั้ง บริษัทประกันชีวิตของขบวนการสหกรณ์ จึงได้มีการระดมผู้ถือหุ้นในขณะนั้นได้จำนวน 2,254 สหกรณ์ ดำเนินการขอจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทฯ ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันชีวิต จากกรมการประกันภัย กระทรวงพานิชย์ (สมัยนั้น) เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2537 ด้วยทุนจดทะเบียน 208.50 ล้านบาท แล้วในวันที่ 17 มีนาคม 2538 ก็เริ่มดำเนินธุรกิจประกันกลุ่มกับสหกรณ์ออมทรัพย์ครูร้อยเอ็ด จำกัด เป็นกรมธรรม์แรก    

แต่นับจากวันที่ได้เริ่มดำเนินการมาจนกระทั่งถึงปี 2551 เป็นที่รับทราบกันในหมู่คนแวดวงประกันภัยไทยว่า “สห ประกันชีวิต” เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ติดร่างแห “เครื่องมือกฎหมายฉบับใหม่” จากทางการที่นำมาบังคับใช้เพื่อยกระดับมาตรฐานการดำเนินธุรกิจของอุตสาหกรรม ทั้งหมด โดยองค์กร “ไม่” สามารถดำเนินธุรกิจด้วยความ “แข็งแกร่ง” ได้ เพราะขาด “เงินทุนหมุนเวียน” จนต้องไหลเข้าสู่ขบวนการ “ควบคุม” ของทางการ!!

 “เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น”รุกฟื้น “สหประกัน” 

จังหวะนั้นเอง! “ดร.ศุภชัย ศรีศุภ อักษร” นักสหกรณ์แห่งชาติและผู้คร่ำหวอดงานสหกรณ์ระดับโลกในฐานะแกนนำคณะผู้บริหาร สหกรณ์ เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด ซึ่งเป็นหนึ่งสมาชิกเครือข่ายสหกรณ์กว่า 7,000 แห่งทั่วประเทศได้แสดงเจตจำนงที่จะเข้าไป “ซื้อหุ้นเพิ่มทุน” ใน “สหประกันชีวิต” เพื่อนำบริษัทประกันชีวิตหนึ่งเดียวของ “ชาวสหกรณ์” ที่มีอยู่กลับมาอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของ “คนสหกรณ์” อีกครั้ง!

การระดมทุนใหม่! จึงเกิดขึ้นและเป็นผลสำเร็จเมื่อเดือนมีนาคม 2552 ที่กลุ่มทุนใหม่คือ “เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น” สหกรณ์ต้นแบบสำคัญของประเทศไทยได้เข้าไป “ปลดโซ่ตรวนพันธนาการ” เปิดประตูบริษัทที่ล็อกตายไม่ให้ดำเนินธุรกิจประกันชีวิตมาเป็นระยะเวลา หนึ่ง กลับมาเปิดดำเนินธุรกิจประกันชีวิตให้กับ “คนสหกรณ์” ทั้งประเทศกว่า 10 ล้านคนอย่างน่าติดตาม

“ดร.ศุภชัย ศรีศุภอักษร” ที่วันนี้สวมหมวกอีกใบในฐานะประธานกรรมการบริษัท สหประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ได้ตอกย้ำกับ “เส้นทางนักขาย” ล่าสุดว่า “การประกันภัย” มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างเสริม “ความแข็งแกร่ง มั่นคง ยั่งยืน” ให้กับ “ระบบสหกรณ์” และ “การสหกรณ์” ก็เป็นหลักการเดียว  ที่จะนำประเทศชาติหลุดพ้นจากความยากจน แล้วเป็นพื้นฐานให้เกิดความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจในอนาคต

“...สหกรณ์ทำให้เกิดระบบต่อการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ขณะเดียวกันก็เกิดความมั่นคงในกิจกรรมต่างๆ จนกระทั่งกลายเป็นสถาบันหลักและกลายเป็นสถาบันการเงินของสังคมในแต่ละชุมชน ตามหลักของฟรีดริคเอแบรท...”
 พันธกิจ “สหประกัน”

 ดัน “สหกรณ์” สมประโยชน์

“ดร.ศุภชัย” ขยายเจตนารมณ์แน่วแน่ของเขาอีกครั้งหนึ่งว่า ที่ผ่านมา “ความไม่แน่นอน” ในอายุและชีวิตของคนเครือข่ายสหกรณ์เป็นต้นเหตุสำคัญหนึ่งที่ทำให้ “ระบบสหกรณ์” ของประเทศไทยยังไม่แข็งแกร่ง ด้วยสมาชิกสหกรณ์บางคนไม่สามารถคืนทุนที่ยืมจากสหกรณ์ไปใช้ได้ เพราะเหตุเสียชีวิตก่อน ดังนั้น “คนสหกรณ์” เข้าใจและทำประกันชีวิตกันมากขึ้น จะทำให้ “ระบบสหกรณ์” ทั้งหมดเป็นไปอย่างแข็งแกร่งมั่นคงยั่งยืนตลอดไป

เพราะเงินทุนที่สมาชิกยืมสหกรณ์ไปเมื่อเสียชีวิต “สหประกันชีวิต” จะนำไปจ่ายทดแทนให้ตามสัญญา ทำให้ “ระบบเงิน” ในสหกรณ์ไม่ต้องเผชิญปัญหา “หนี้เสีย” อีกต่อไป ตรงนี้จะเป็นการเสริมสร้างศักยภาพให้การสหกรณ์ที่ถูกต้อง ที่มีการบริหารจัดการในรูปแบบประชาธิปไตย ที่มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน เป็นเรื่องของความสมัครใจ เป็นเรื่องของความร่วมมือ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันได้เดินหน้าสร้างความเข้มแข็งให้สังคมอย่างต่อ เนื่อง

“แต่โลกใบนี้ ตั้งอยู่ เกิดขึ้น แล้วก็ดับไป จึงเป็นที่มาของคำว่า “อินชัวร์รันส์” เข้ามาเกี่ยวข้อง...เพราะการที่จะทำให้ขบวนการสหกรณ์ “สมประโยชน์” เป็นขบวนการที่ยั่งยืนและพัฒนาเศรษฐกิจสังคมต่อไปได้ ก็ต้องมีกระบวนการสร้างอุปนิสัยในการปฏิบัติต่อเนื่องเรื่องการออมและ ป้องกันภัยความเสียหายให้สอดรับกันไปด้วย”

ดังนั้นเมื่อ “เครดิตยูเนี่ยน คลองจั่น” เข้ามาถือหุ้นใหญ่ใน “สหประกัน ชีวิต” นับจากปี 2552 เป็นต้นมา การเร่ง “ฟื้นฟู” กิจการและการ “เข้าถึง” สมาชิกสหกรณ์กว่า 7,000 แห่งหรือราวกว่า 10 ล้านคนทั่วประเทศจึงเป็น “ปฏิบัติการคู่” ที่คณะผู้บริหารต้องทำงาน “แข่งเวลา” กันมาอย่างท้าทาย ภายใต้ “กฎเหล็ก” ที่เป็นข้อบังคับตามกฎหมายประกันชีวิตใหม่ พ.ศ.2551 อย่างเคร่งครัด

 3 ปี “สหประกัน” เดินหน้าเข้าถึง “คนสหกรณ์”

ทั้งนี้อาจจะนับ เป็นการเริ่มต้นอีกครั้งของดำเนินธุรกิจประกันชีวิตของ “สหประกันชีวิต” นับจากปี 2552 เป็นต้นมา เพราะคณะผู้บริหารได้ตั้งหัวเรือใหญ่เป็น “สหพล สังข์เมฆ” ผู้คร่ำหวอดวงการสหกรณ์มาค่อนชีวิต รางวัลนักพัฒนาองค์กรดีเด่น ปี 2554 และบุคคลแห่งปี 2555 คนล่าสุดที่จัดว่าเป็นมือฉมังของวงการอีกคนหนึ่งเข้าบริหารงานประกันชีวิต ให้กับสมาชิกสหกรณ์โดยตรงในฐานะ “กรรมการผู้จัดการใหญ่” ของสหประกันชีวิต  

ซึ่งเจ้าตัวก็ยอมรับว่า แม้ไม่มีประสบการณ์งานประกันชีวิตโดยตรงมาก่อน  แต่ด้วยเพราะพื้นฐานความเข้าใจงานในระบบสหกรณ์รวมถึงงานสวัสดิการต่างๆ ที่สหกรณ์ดำเนินการอยู่ ทำให้เขาสามารถนำพา “สหประกันชีวิต” ฝ่าด่านหินฟื้นสภาพไข้หนักพลิกสถานการณ์มาอยู่ในสถานะแข็งแกร่งตามกรอบ กฎหมายได้อย่างต่อเนื่อง ภายใต้วิสัยทัศน์การบริหารบนแนวทาง “สหประกันชีวิต...คือ ธุรกิจของสหกรณ์เพื่อปวงชน”

“...เราตระหนักถึงความสำคัญของการประกันชีวิต ที่สร้างสวัสดิการอันยังประโยชน์อย่างยิ่งต่อตัวสมาชิกเอง ครอบครัว สหกรณ์ สังคมประเทศชาติ และธุรกิจ  เราจึงมุ่งมั่นตามเจตนารมณ์ของการก่อตั้งสหประกันชีวิตพัฒนาให้ก้าวไกล จะคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ขึ้นตอบสนองต่อความต้องการของสมาชิกสหกรณ์ที่หลากหลาย ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์รูปแบบไปจากเดิมเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ เอาประกันภายใต้ชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงพัฒนาประสิทธิภาพในการให้บริการแก่ผู้เอาประกันให้ได้รับความสะดวกมาก ยิ่งขึ้นเพื่อสร้างความ   พึงพอใจแก่ผู้เป็นเจ้าของและผู้ใช้บริการ มุ่งมั่นพัฒนาให้สหประกันชีวิตเป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญในการยกระดับคุณภาพ ชีวิตให้ดีมีความมั่นคงยิ่งขึ้น และปรารถนาอย่างยิ่งยวดที่จะให้สหประกันชีวิตเป็น “มรดกของขบวนการสหกรณ์”อย่างแท้จริง”

ส่วนนโยบายการตลาดของ “สหประกันชีวิต” นับจากวันที่ “สหพล สังข์เมฆ” เข้ามารับหน้าที่บริหารเขาจึงวางเป้า         “ลูกค้า” มุ่งไปที่ “คนสหกรณ์” เป็นลำดับแรก ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มสมาชิกสหกรณ์และบุคคลในครอบครัวสหกรณ์ทั้งหมด โดยใช้แนวทางการขยายงานผ่าน “สำนักงานของสหกรณ์” ที่กระจายอยู่ทั่วภูมิภาค ตัวแทนที่มีใบอนุญาตก็มาจากบุคลากรสหกรณ์ เช่น คณะกรรมการผู้จัดการ พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือสมาชิกสหกรณ์ที่สนใจในงานประกันชีวิต
ด้วยเป้าประสงค์ในการให้ผลตอบแทนจากระบบประกันชีวิตเพื่อช่วยสร้างราย ได้ให้กับคนสหกรณ์แต่ละแห่งตลอดจน เพื่อให้ “คนสหกรณ์..ดูแลสวัสดิการเพื่อ..คนสหกรณ์” ด้วยกันเอง แม้ว่าตัวแทนจะไม่อยู่ แต่สหกรณ์ยังคงอยู่ สมาชิกหรือผู้เอาประกันก็ยังมีความเชื่อมั่นอยู่ว่าไม่ละทิ้ง “เขา” ไปไหน แล้วสุดท้าย    ก็ตอบโจทย์สำคัญคือ “ผู้ถือหุ้น” หรือ “สหกรณ์” ที่ปัจจุบันมีจำนวนกว่า 2,200 แห่งที่เป็นเจ้าของทั้งหมดของ “สหประกันชีวิต” จะต้องมีประโยชน์คืนกลับอย่างพึงพอใจกันทุกฝ่าย

“..หลังจากผมเข้ามาบริหารสหประกันชีวิตนั้นต้องปลุกสหกรณ์ผู้ถือหุ้นใน ฐานะผู้เป็นเจ้าของให้หันกลับมาใช้บริการของตนเองด้วยศักดิ์ศรี ปีแรกเป็นเรื่องการฟื้นฟูด้วยการเดินสายพบปะพูดคุยกับคณะกรรมการสหกรณ์ให้ เชื่อมั่นและเข้าใจถึงความสำคัญของการประกันชีวิตควบคู่ไปด้วย จนปีที่สองก็เริ่มมีเสียงตอบรับจากสหกรณ์หลายแห่งสนใจให้ความร่วมมือที่จะ เสนอขายประกันชีวิตกับสมาชิกให้กับเรา และปีที่สามนี้ก็มีความเชื่อมั่นมากขึ้น บวกด้วยความรู้สึกเป็นเจ้าของบริษัทก็มากขึ้นเป็นเงาตามตัวด้วย  ก็ถือว่าได้ผลน่าพอใจอย่างต่อเนื่อง..”

 “สหประกันชีวิต” เล็งตลาดใหญ่คนนอกสหกรณ์ในอนาคตเช่นกัน

ใน ฐานะ “นักสหกรณ์” ที่สวมหมวก “นักบริหารธุรกิจประกันชีวิต” ควบ อีกใบหนึ่งของ “สหพล” เขายอมรับว่า ระยะ เริ่มแรกของการขยายตลาด “สหประกันชีวิต” อาจจะยังเข้าถึง “คนสหกรณ์” ได้ยาก เพราะยังขาด “คนประสาน” หรือคนกลางที่จะนำความรู้ความเข้าใจระบบประกันชีวิตไปสู่สมาชิกสหกรณ์

แต่เมื่อเขามองเห็นปัญหาดังกล่าว จึงจัดหา “คนประสานงาน” ที่มีความ “เข้าใจ” ระบบงานสหกรณ์เป็นพื้นฐานอยู่แล้วมาฝึกอบรมเรียนรู้งาน “ประกันภัย” แล้วส่งกลับเข้าไปเป็น “ผู้ประสานงานธุรกิจสหกรณ์” เชื่อมระหว่าง สหประกันชีวิตกับสหกรณ์ต่างๆ ทั่วประเทศ เป็นผลให้ปัจจุบันสมาชิกสหกรณ์เริ่มมีความเข้าใจการประกันภัยและมีความมั่น ใจกันมากขึ้น
“...ตอนนี้เราไม่มีทีมขายโดยตรงจากบริษัท แต่จะให้สหกรณ์สร้างทีมขายภายในสหกรณ์เพื่อดูแลสมาชิกของเขาเอง  เรามีเพียงผู้ประสานงานธุรกิจหรือที่ เรียกทั่วๆไปว่า เซลส์โค หรือ เซลส์ซัพพอร์ต ที่ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง ประมาณ 20 กว่าคน โดยให้รับผิดชอบตามพื้นที่จังหวัดต่างๆ มีหน้าที่ให้ความรู้ความเข้าใจสร้างความเชื่อมั่นในงานประกันภัยกับสหกรณ์ หรือสมาชิก  ซึ่งก็ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด เพราะยังมีหลายสหกรณ์ต้องการให้เข้าไปสื่อสารความเข้าใจในรายละเอียดให้กับ คนสหกรณ์อีกหลายประเด็น รวมถึงเรื่องภารกิจทิศทาง สถานภาพของบริษัทในฐานะที่เขาเป็นเจ้าของ ซึ่งมีรายละเอียดที่แตกต่างจากการบริหารธุรกิจของสหกรณ์อย่างสำคัญเช่น เรื่องสำรองประกันภัยตามกฎหมาย เงินปันผลและฐานะการเงินของบริษัท เป็นต้น..”

นอกจากนั้น “สหพล” ยังกล่าวถึงความสำเร็จช่วงแรกของการดำเนินงานของสหประกันชีวิตอีกว่า นอกจากการ ตอบรับจากสมาชิกสหกรณ์ที่เพิ่มขึ้นแล้ว ยังสามารถขยายสำนักงานของตัวแทนได้อย่างน่าพอใจ โดยได้ยึดแนวทางตามนโยบายเบื้องต้นคือ ปรับสำนักงานสหกรณ์ที่ได้ทำข้อตกลงต่อกันเป็น “ศูนย์ประสานงาน” ซึ่งลูกค้าที่เป็นสมาชิกสหกรณ์สามารถใช้บริการแบบ “ครบวงจร” ทั้งเรื่องสวัสดิการการประกันภัยและงานสหกรณ์ได้ ณ สำนักงานเดียวกันได้เลย

นอกจากนั้นในช่วง 3 ปีรอบ   บัญชีที่ผ่านมา “สหพล” กล่าวสรุปได้ว่า    “วัฒนธรรมองค์กร” ภายในของ “สห ประกันชีวิต” ได้เปลี่ยนไปอย่างมีนัยยะสำคัญถึงการหล่อหลอมเป็นวัฒนธรรมเดียวกันคือ “สังคมคนสหกรณ์” ที่พัฒนาไปสู่  “ศักดิ์ศรีคนสหกรณ์” วัดได้จากบรรยากาศ การประชุมใหญ่สหประกันชีวิตปัจจุบัน ผู้แทนสหกรณ์ที่เข้าประชุมแต่ละคราวจำนวนหลายร้อยคน จะมีแต่การสร้าง สรรค์เติมเต็มถึงกฎกติกาหรือข้อบังคับระเบียบ กลยุทธ์วิธีการที่จะขับเคลื่อนให้สหประกันชีวิตเดินไปข้างหน้าได้เพื่อสร้าง ความมั่นคงแข็งแกร่งได้อย่างแท้จริง

สำหรับเป้าหมายการเติบโตในปี 2555 นี้ซึ่งอยู่ในระหว่างรอบปีบัญชีที่ 4 ของการดำเนินธุรกิจของ “สหประกันชีวิต” ภายใต้ปีกบริหารของ “ดร.ศุภชัย ศรีศุภอักษร” ในฐานะประธานกรรมการ และ “สหพล สังข์เมฆ” ในฐานกรรมการ ผู้จัดการใหญ่นั้น จะเพิ่มทุนจดทะเบียนบริษัทให้ครบ 1,000 ล้านบาทตามที่ที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นได้มีมติไว้ ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 760 ล้านบาทเศษ โดยมีสมาชิกสหกรณ์ร่วมถือหุ้นเดิมทั้งหมดกว่า 2,200 แห่ง และจะขยายไปยังสหกรณ์ใหม่ให้ซื้อหุ้นเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของบริษัทของขบวน การสหกรณ์ ซึ่งเป็นบริษัทประกันชีวิตหนึ่งเดียวที่มีกลุ่มเป้าหมายไปที่สมาชิกสหกรณ์ อย่างชัดเจน และคาดว่าสิ้นปีนี้จะสามารถสร้างผลผลิตเบี้ยประกันชีวิตรวมให้ได้ 1,200 ล้านบาท
“...และเราก็มีทิศทางจะเดินไปสู่การเป็นสถาบันการเงินกลางให้กับชาว สหกรณ์ในอนาคตอันใกล้นี้ เมื่อมีความมั่นคงแล้วเราก็จะขยายการตลาดออกสู่คนภายนอกสหกรณ์อีกด้วย รวมถึงการขยายไปสู่สมาชิกสหกรณ์ในเอเชีย 25 ประเทศซึ่งเรามีเครือข่ายสายสัมพันธ์กันอยู่แล้ว ชื่อว่า “สมาคมสมาพันธ์สหกรณ์ออมทรัพย์และเครดิตแห่งเอเชีย Association of Asian Confederation of Credit Union หรือเรียกย่อๆ ว่า ACCU ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศไทยและเป็นตึกเดียวกันกับสหประกันชีวิต นี้อีกด้วย โดยทั้งหมดจะเดินไปพร้อมกับยูเนี่ยน   อินเตอร์ประกันภัยด้วย..”

 “ยู ไลฟ์ - ยู อินเตอร์” ครบเครื่อง เรื่องประกันภัยเสิร์ฟ “คนสหกรณ์”

เมื่อ กล่าวถึง “ยูเนี่ยนอินเตอร์ประกันภัย” หรือ “ยูอินเตอร์” มีชื่อเป็นทางการคือ บริษัท ยูเนี่ยน อินเตอร์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) ก็คือบริษัทในเครือเดียวกับ “สหประกันชีวิต” หรือ “ยูไลฟ์” ซึ่งต่างเป็นบริษัทในกลุ่มเครือ “ยูเนี่ยนเครดิตคลองจั่น” ทั้งหมดรวมถึงตึกใหญ่พันล้านบาท “ยู ทาวเวอร์” ที่ตั้งตระหง่านบนถนนศรีนครินทร์ด้วยนั้น “ดร.ศุภชัย ศรีศุภอักษร” ซึ่งนั่งเป็นประธานกรรมการควบอีกบริษัทและในฐานะกรรมการผู้จัดการยูอินเตอร์ คนใหม่ กล่าวเสริมว่า
“..ยูอินเตอร์เป็นองค์กรรอยต่อที่เข้าเสริมสหประกันชีวิตหรือยูไลฟ์ใน เรื่องการรับประกันวินาศภัยอื่นๆ ให้กับสมาชิกสหกรณ์ และเรามีเป้าหมายที่จะเป็นองค์กรนำด้านธุรกิจประกันวินาศภัยเพื่อสหกรณ์และ ปวงชนในการส่งเสริมเสถียรภาพความมั่นคง ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน..”

“ดร.ศุภชัย” กล่าวย้ำว่า หลังจากได้เข้าเทคโอเวอร์บริษัทประกันวินาศภัยรายหนึ่งที่ประสบปัญหาด้านการ เงินมาเมื่อ 2 ปีก่อนหน้านี้ คณะผู้บริหารก็ใช้เวลาทั้งหมด “ปรับแต่งตัว” องค์กรกันใหม่จนพร้อมให้บริการขายประกันวินาศภัยอีกครั้งเมื่อปลายปี 2554 ที่ผ่านมา ซึ่งแนวทางการทำตลาดก็เดินเข้ากลุ่มลูกค้า ที่มีฐานะเป็นผู้ถือหุ้นในนาม “สหกรณ์” ควบคู่ไปกับ “สหประกันชีวิต” จนขณะนี้สามารถเข้าไปรับประกันวินาศภัยทั้งมอเตอร์และนอนมอเตอร์ได้ราว 50%    ของกลุ่มลูกค้าสหประกันชีวิตแล้ว

ในปีนี้หลังจากที่เขากลับมารับตำแหน่งบริหารนั่งเก้าอี้ “กรรมการ  ผู้จัดการ” ด้วยตัวเองเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ได้กำหนดนโยบายเตรียมรุกตลาดภายนอกมากขึ้น โดยการสร้าง “ตัวแทน” ที่เป็นสายเลือดยูอินเตอร์เป็นจำนวนหลายร้อยคนแล้ว ขณะเดียวกันก็เร่งปรับโครงสร้างธุรกิจวินาศภัยให้สามารถรองรับการรับประกัน ภัยที่เป็นมาตรฐานมากขึ้นตามกฎระเบียบของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่ง เสริมการประกอบธุรกิจภัย (คปภ.)

สุดท้าย “ดร.ศุภชัย ศรีศุภอักษร” ได้กล่าวว่า แม้ว่าการดำเนินธุรกิจประกันชีวิต และประกันวินาศภัย ของทั้ง 2 บริษัทในเครือ “ยู กรุ๊ป” จะเผชิญกับกฎระเบียบของคปภ.และกำลังสร้างความแข็งแกร่งให้เป็นไปตามกฎหมาย อย่างยั่งยืนอยู่ในเวลานี้

ก็นับเป็นความท้าทายที่จะทำให้ “คณะทำงาน” ทั้งหมดที่มีหัวใจ   เต็มไปด้วย “เลือดนักเสียสละ” จากความเป็น “คนสหกรณ์” ผู้เต็มไปด้วยอุดมการณ์แข็งกล้าที่จะมุ่งมั่นให้ขบวนการสหกรณ์ไทยทั้งระบบ แข็งแกร่งบนพื้นฐานความมั่นคงด้วยมี “ระบบประกันภัย” เป็นหลักประกันนั้น สามารถ เอาชนะปัญหาและนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายสูงสุดได้อย่างแน่นอน ดั่งประโยคทิ้งท้ายอย่างน่าคิดว่า

“...เราไม่ใช่องค์กรแสวงหากำไร...แต่เราจะเป็นองค์กรถ่วงดุลของ สังคมมากกว่า...เหนืออื่นใดก็คือ ความสุขที่ชาวสหกรณ์ได้ทำและได้รับกันในวันนี้และวันข้างหน้า...

อ้างอิง : นสพ.เส้นทางนักขาย ฉบับที่ 230 ปักษ์หลัง ประจำวันที่ 16-30 มิถุนายน 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

งานออนไลน์ | ทํางานออนไลน์ | หางานออนไลน์ | งานผ่านเน็ต | งานพิเศษออนไลน์ | งานผ่านnet | งานออนไลน์ | ทำงานผ่านเน็ต | ธุรกิจออนไลน์ | รายได้พิเศษผ่านเน็ต | รายได้เสริมทางเน็ต | รายได้เสริมผ่านเน็ต | หาเงินออนไลน์ | งานออนไลน์ รายได้เสริม | ทำงานทางเน็ต | หาเงินผ่านเน็ต | หางานออนไลน์ทําที่บ้าน | งานออนไลน์ได้เงินจริง | งานออนไลน์ทําที่บ้าน | ธุรกิจ online | หารายได้ทางเน็ต | งานออนไลน์ผ่านเน็ต | งานเสริมออนไลน์ | สร้างรายได้ผ่านเน็ต | งานผ่านเน็ตรายได้ดี | งานผ่านเน็ตได้เงินจริง | ทํางานออนไลน์ | หางานออนไลน์ | งานผ่านเน็ต | งานพิเศษออนไลน์ |